วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

อาหารต้องห้ามยามเป็นโรค


1. เป็นไข้หวัดมีไข้สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารไม่สุก อาหารที่เย็นมากๆอาหารทอด อาหารมัน ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยยากจะทำให้เกิดความร้อนสะสม เปรียบเสมือนอาหารเชื้อเพลิงหรือเป็นการเติมน้ำมันเข้าไปในกองไฟ


2. โรคกระเพาะควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชาแก่ๆ กาแฟของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ ทำให้เกิดความร้อนสะสมทำให้โรคหายยาก ทางที่ดีควรจะรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆแต่บ่อยครั้ง รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย


3. โรคความดันเลือดสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาเลือดเลือดแข็งตัวขาดความยืดหยุ่น ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูงเช่น หมูสามชั้น ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ รวมทั้งเหล้าเพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกายและความชื้นก็มีผลก็ทำให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนทุกระบบในร่างกายและความร้อนก็จะไปกระตุ้นทำให้ความดันสูง นอกจากนี้...ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หรืออาหารหวานมากรวมทั้งผลไม้อย่างลำไย ขนุน ทุเรียน


4. โรคตับและถุงน้ำดีหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารมันเนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอด อาหารหวานจัดเพราะแพทย์จีนถือว่า ตับและถุงน้ำดีมีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารการได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอลงและเกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง


5. โรคหัวใจและโรคไตควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดเพราะจะทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้าทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้นส่วนอาหารรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะทำให้กระตุ้นการไหลเวียนสูญเสียพลังงานและหัวใจก็ทำงานหนักขึ้นเช่นกัน

6. โรคเบาหวานหลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน หรือแป้งที่มีแคลอรี่สูงเช่น มันฝรั่ง มันเทศควรรับประทานอาหารพวกถั่วเช่น เต้าหู้ นมวัว เนื้อสันไม่ติดมัน ปลา ผักสด


7. นอนไม่หลับหลีกเลี่ยงชา กาแฟ (รวมทั้งการสูบบุหรี่)เพราะอาหารเหล่านี้ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอนหรือนอนไม่หลับสนิท


8. โรคริดสีดวงทวาร หรือท้องผูกหลีกเลี่ยงอาหารประเภทหอม กระเทียมขิงสด พริกไทย พริก เพราะอาหารเหล่านี้อาจทำให้ท้องผูกหลอดเลือดแตก และอาการริดสีดวงทวารกำเริบ


9. ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ หรือโรคหอบหืดควรหลีกเลี่ยงเนื้อแพะเนื้อปลา กุ้ง หอย ปู ไข่ นม และอาหารรสเผ็ดเพราะจะไปกระตุ้นและทำให้อาหารผิวหนังกำเริบ


10. สิว หรือต่อมไขมันอักเสบงดอาหารเผ็ดและมันเพราะทำให้เกิดการสะสมความร้อนชื้นของกระเพาะอาหาร ม้ามมีผลต่อความร้อนชื้นไปอุดตันพลังของปอด ควบคุมผิวหนังขนตามร่างกาย ทำให้เกิดสิว
หากการปฎิบัติข้างต้นเป็นเรื่องยุ่งยากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการ ด้วยวิธีที่ง่ายกว่านี้นะ

สรุป เรื่อง การบริหารโครงการ วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม

โครงการ หมายถึง ข้อเสนอที่จะที่จะดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จโดยมีการตระเตรียม และวางแผนงานไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งความแตกต่างระหว่างแผนงานและโครงการ แผนงานจะประกอบด้วยโครงการมากกว่า 1 โครงการเป็นการดำเนินงานระยะยาว มีกระบวนการดำเนินการทั่วทั้งองค์การ วิธีการจัดทำแผนงานจะใช้วิธีการวางแผนเชิงกลยุทธ์

ลักษณะของโครงการ
- มีวัตถุประสงค์ชัดเจน
- มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
- ดำเนินงานอยู่ภายใต้ข้อจำกัด เวลา ต้นทุน คุณภาพ

วงจรการพัฒนาโครงการ
1.ช่วงระยะก่อนการบริหารโครงการ
2.ช่วงระยะการบริหารโครงการ
3.ช่วงระยะการบำรุงรักษา

การวางแผนโครงการ
-จุดมุ่งหมายของการวางแผน
-ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการวางแผน

ขั้นตอนการวางแผนโครงการ
1).กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของงาน
2.)กำหนดผลิตภัณฑ์ที่จะต้องสงมอบและระบุรายการโครงสร้างงาน
3.)การจัดองค์กร
4.)กำหนดระบบการทำงานและระบบเอกสาร
5.)การกำหนดตารางเวลาจุดมุ่งหมายของการกำหนดตารางเวลาโครงการ จะต้องทำงานอะไรบ้าง ใช้เวลาเทาไหร่ ใช้ทรัพยากรอะไรเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำตารางเวลา ประกอบกิจกรรมช่วงเวลา กราฟแท่งแนวนอนลักษณะแผนผัง PDM ใช้กล่องสี่เหลี่ยมแทนงาน ลูกศรจะแทนความสัมพันธ์ระหว่างงานในหลายชนิดช่วงเริ่มดำเนินงาน ดำเนินการติดตามโครงการตามจุดตรวจสอบ ประเมินผลตามเกณฑ์การวัดผล ติดตามการสื่อสารภายในโครงการ การประชุม การติดตามดูแลโครงการ (Project Monitoring ) จะมีการติดตาม การวัดความก้าวหน้าระหว่างการดำเนินงานกระบวนการแก้ไขปัญหา มีการระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์หาสาเหตุ ทำแผนปฏิบัติ เป็นต้นความขัดแย้งในโครงการ สาเหตุ ประเภทความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้ง ความตึงเครียดในโครงการรูปแบบการปิดโครงการ มีการปิดโครงการเมื่อแล้วเสร็จตามแผน การปิดโครงการกลางคัน การปิดโครงการามเดิม และปิดโครงการใหม่การประเมินผลโครงการ หมายถึง การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ อันจะนำมาสู่การตัดสินใจวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้การสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียง ช่วยให้ทรัพยากรเกิดประโยชน์เต็มที่เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สำคัญสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจความประหยัด การใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิต ใช้ปัจจัยนำเข้าด้วยต้นทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ความมีประสิทธิภาพ การเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลผลิตความมีประสิทธิผล เปรียบเทียบวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ของโครงการ

ขั้นตอนการจัดทำระบบการประเมินผลโครงการ
ขั้นที่ 1 กำหนดผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ
ขั้นที่ 2 กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน
ขั้นที่ 3 กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 4 กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ขั้นที่ 5 รายงานผลสัมฤทธิ์
ขั้นที่ 6 ใช้ประโยชน์ข้อมูลจากการประเมินผลโครงการ

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เอเซอร์ เปิดตลาด แอลซีดี มอนิเตอร์ G24 ด้วยอัตราความคมชัดสูงสุด 50000:1 เอาใจคอเกมโดยเฉพาะ


บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด เปิดตัวผลิตภัณฑ์ จอแอลซีดี มอนิเตอร์ G24 รุ่น G24oid จอแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเอาใจผู้ที่รักการเล่นเกมบนคอมพิวเตอร์ ด้วยหน้าจอไวด์สกรีน CrystalBrite (จอกระจก) ขนาด 24 นิ้ว ให้ภาพคมชัดสมจริง รองรับการทำงานด้านมัลติมีเดีย และกราฟิกหนักๆ ด้วยความละเอียดในการแสดงภาพสูงสุด 1920x1200 พิกเซล (Full HD) ค่าความสว่างถึง 400 nit โดยมีอัตราความคมชัด (Contrast Ratio) สูงสุด 50000:1 ความเร็วตอบสนอง 2 มิลลิวินาที พร้อมฟังก์ชันตัดการสะท้อนของแสง และ Acer eColor Management ระบบปรับแสงและความคมชัดของภาพ ผนวกกับช่องเชื่อมต่อแบบ DVI, HDMI ซึ่งให้ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องไม่มีสะดุด สามารถปรับเฉดสีได้สูงถึง 16.7 ล้านสี ด้วยดีไซน์ดุดัน บึกบึน ในโทนสีส้ม คอปเปอร์ (Copper) เหมาะกับคอเกมเมอร์โดยเฉพาะ สำหรับลูกค้าที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เอเซอร์ทั่วประเทศ หรือที่เอเซอร์ คอลล์ เซ็นเตอร์ ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 2685 4311 หรือคลิกไปที่ http://www.acer.co.th/

สรุป การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม

สรุปงานเรื่องการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล

การจัดการ หมายถึง การพัฒนากลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการกับสารสนเทศที่ได้รับ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารทุกประเภทที่ได้รับ
ส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีความต้องการหรือมีความจำเป็นในการสารสนเทศหนึ่งๆในการประกอบกิจการงานหรือการดำรงชีวิตประจำวันยุคของการใช้กระดาษหลัก
ส่วนใหญ่อาศัยกระดาษเป็นหลักและมีตู้เก็บเอกสารเป็นส่วนประกอบ ระบบที่ใช้กระดาษนี้เป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน ส่วนจุดด้อยที่สำคัญคือ การค้นกาข้อมูลค่อนข้างยากยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักไมโครคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการต่างๆมากขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 แต่ละบุคคลเริ่มได้รับสารสนเทศมากขึ้นจากแหล่งต่างๆและยังใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้คนมากขึ้นองค์ประกอบของระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทั้งด้านรูปลักษณ์ ระบบความสามารถในการทำงาน และราคา ตามโครงสร้างของระบบที่ใช้หลักการจัดการฐานข้อมูลแล้ว พบว่าองค์ประกอบที่เหมือนกันคือ ส่วนรับเข้า ส่วนประมวลผล และส่วนแสดงผลประเภทของระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล จะประกอบไปด้วย การจำแนกตามรูปลักษณ์ และจำแนกตามฟังก์ชันการทำงานเกณฑ์การการเลือกระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล ประกอบด้วย เป้าหมาย ความต้องการด้านสารสนเทศ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสามารถในการทำงาน ราคา ความยากง่ายในการใช้งาน การสนับสนุนด้านเทคนิค การรับฟังความคิดเห็น และการทดลองใช้ระบบระบบนัดหมายส่วนบุคคล เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับสมุดนัดหมายบุคคลที่เป็นกระดาษเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารเวลาของแต่ละบุคคลช่วยให้มีการใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าระบบนัดหมายกลุ่มระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการนัดประชุม ที่เรียกว่า “ระบบนัดหมายประชุม” เป็นการนำปฎิทินในการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ของสมาชิกของแต่ละคนมารวมกันและแสดงผลข้อมูลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมกัน ระบบจะแสดงช่วงเวลาสมาชิกทุกคนมีเวลาว่างพร้อมกัน เพื่อให้เลขานุการหรือผู้ใช้ระบบเลือกเอาเวลาที่เหมาะสมสำหรับการประชุม
ระบบติดตามงานส่วนบุคคล หมายถึง มีลักษณะคล้ายสมุดจดบันทึกช่วยจำที่เป็นกระดาษ ปัญหาที่พบมากในการบริหารเวลาของตนเองมีอยู่คือ

1.ความพยายามที่จะทำงานหลายอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว
2.มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่งจึงต้องำงานแบบเร่งรีบในช่วงเวลาสุดท้าย
ระบบติดต่อสื่อสารแบบพื้นฐาน
เป็นระบบที่ซับซ้อนที่สุด มีเพียงฟังก์ชันที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นของบุคคลเป็นระบบที่มีเพียงฐานข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยข้อมูลต่างๆที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการ หรือการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้ระบบระบบติดต่อสื่อสารแบบซับซ้อนมีฟังก์ชันการติดต่อสื่อสารซับซ้อนมากขึ้นฐานข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวข้องเหมือนกับระบบติดต่อสื่อสารแบบพื้นฐาน ยังมีฟังก์ชันการติดต่อสื่อสารทั้งที่ผ่านโทรศัพท์และผ่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีการเชื่อมต่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องโทรศัพท์ เป็นการรวมความสามารถในการทำงานของระบบโทรศัพท์และระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเทคโนโลยีพีดีเอเป็นเทคโนโลยีระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลที่สำคัญและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เป็นคอมพิวเตอร์เฉพาะที่รวมฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ไว้ด้วยกันได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะในการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียว
รูปลักษณ์พิเศษที่บ่งบอกความเป็นส่วนบุคคล มีดังนี้
-มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ
-มีน้ำหนักเบา-พกพาได้สะดวก
-มีความสามารถสูงในการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
-ง่ายต่อการเรียนรู้แลการใช้งาน-ราคาไม่แพงจนเกินไปคุณลักษณะของพีดีเอ
-การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
-การจัดเก็บสารสนเทศ
-การสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสารของพีดีเอ
เทคโนโลยีเซลลูลาร์ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เทคโนโลยีอินฟราเรด เป็นเทคโนโลยีใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้สัญญาณหรือลำแสงพุ่งออกจากอุปกรณ์บังคับระยะไกล เช่น เครื่องรับโทรทัศน์
ระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลบนเว็บ
เป็นระบบที่จัดเก็บสารสนเทศส่วนบุคคลไว้ในรูปเว็บในลักษณะมัลติมีเดียสามารถเข้าถึงได้ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
จุดเด่นของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลบนเว็บการไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ และ การแสดงสารสนเทศในลักษณะมัลติมีเดีย
มาตรฐานสำคัญระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลบนเว็บ
จำเป็นต้องคำนึงถึงรูปแบบของข้อมูลที่จะมีการแลกเปลี่ยนระหว่างระบบที่แตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน โดยอัตโนมัติเพื่อหลีกเหลี่ยงการบันทึกข้อมูลที่ซ้ำมาตรฐานที่กำลังเป็นที่นิยมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล คือ มาตราฐานวี-การ์ด

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สรุป รายงานหน้าห้องวันจันทร์

บทบาทของสำนักงานอัตโนมัติในการจัดการสารสนเทศการสื่อสารและการจัดการทั่วไปบทบาทของสำนักงานอัตโนมัติในการจัดการสารสนเทศ
1. ลักษณะงานสำนักงานทั่วไปงานส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศในสำนักงาน จำแนกได้ดังนี้ - งานรับข้อมูลและสารสนเทศ
-การเก็บบันทึกข้อมูลและสารสนเทศ
-การประมวลผลข้อมูล
- การจัดทำเอกสารธุรกิจ
- การสื่อสารข้อมูลและเอกสารธุรกิจ
2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติกับการจัดการสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเป็นเครือข่ายในสำนักงานอัตโนมัติจะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศระหว่างสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงานต่างๆในเครือข่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการ และการใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ โดยการเผยแพร่และสื่อสารสารสนเทศไปยังกลุ่มต่างๆเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ทันสมัย เป็นปัจจุบัน เหล่านี้ทำให้การดำเนินงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
บทบาทของสำนักงานอัตโนมัติในการสื่อสาร
1. การสื่อสารทั่วไปในสำนักงานการสื่อสาร หมายถึง การสื่อข้อความระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยปกติเป็นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างมนุษย์ รวมถึงการสนทนาในรูปแบบต่างๆ การใช้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งในปัจจุบันสื่อดังกล่าวทำงานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
2.บทบาทของการสื่อสารข้อมูลในสำนักงาน
-การเชื่อมโยงการทำงานของผู้บริหารและพนักงาน
-การเชื่อมโยงสำนักงานกับหน่วยงานภายนอก
-การประชาสัมพันธ์
-การช่วยค้นหาข้อมูลข่าวสาร
3. เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในสำนักงาน การสื่อสารข้อมูล เป็นการนำเทคโนโลยีและวิธีการในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ
โดยทั่วไปมี 5 ขั้นตอน คือ การสร้างข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่ง นำข้อมูลมาสร้างเป็นสัญญาณเพื่อใช้ส่ง ส่งสัญญาณดังกล่าวไปเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับ ทำการแปลงสัญญาณที่รับ และประมวลผลยังจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับ ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาของการสื่อสาร มีดังนี้
1 การพิจารณาอุปกรณ์ต่อพ่วง
2 การเลือกตัวกลางสื่อสารที่เหมาะสม
3 การกำหนดเกณฑ์วิธีในการสื่อสาร เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตถูกใช้ในการสื่อสารด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล โดยมีผู้ให้บริการ และผู้สร้างสื่อเผยแพร่มากขึ้น
4. การนำอินเทอร์เน็ตไปใช้ในสำนักงาน
- การประชาสัมพันธ์
-การสื่อสาร
-การทำงานทางไกลบทบาทของสำนักงานอัตโนมัติในการจัดการทั่วไป

1. บทบาทต่อการจัดการทั่วไป
1 คุณภาพของการจัดการ
การวางแผน
การจัดองค์การและการจัดการบุคลากร
การบริหารงบประมาณ
การบริหารงานโครงการ
การควบคุมการปฏิบัติงานในสำนักงาน
การทำรายงาน
2 คุณภาพของผู้บริหาร บทบาทของผู้บริหารอาจแบ่งได้เป็น
การประสานงาน
สารสนเทศ
การตัดสินใจ
3 การทำงานเป็นทีม
- กลุ่มงานเข้าใจปัญหาได้ดีกว่าคนเพียงคนเดียว
- บุคคลจะรับผิดชอบหากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
- กลุ่มงานค้นหาความผิดพลาดบกพร่องได้ดีกว่า
- กลุ่มงานมีสารสนเทศและความรู้มากกว่า
- ช่วยกระตุ้นให้สมาชิกและกระบวนการทำงานดีขึ้น
- แต่ละคนมีพันธะผูกพันในข้อที่ร่วมกันตัดสินใจ
- แต่ละคนจะลดความรู้สึกที่จะต่อต้านสิ่งที่กลุ่มได้ตัดสินใจไปแล้ว
4 การทำงานทางไกล ด้วยเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทำให้ผู้ทำงานสามารถที่จะทำงานได้ต่างสถานที่ และเสมือนว่าได้ทำงานในสำนักงานเดียวกัน
- ประโยชน์ ช่วยลดปัญหาด้านบุคลากร พื้นที่ใช้งานในหน่วยงาน และปัญหาสังคม
-ปัญหา บุคลากรอาจลดความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในด้านหน่วยงานอาจไม่มีความพร้อมในการประชุม ผลประกอบการไม่ได้ดังหวัง เป็นต้น

2. ข้อควรพิจารณาในการปรับเปลี่ยนสำนักงานมาเป็นสำนักงานอัตโนมัติ
-ด้านความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตนเอง
-ด้านความพร้อมในการปรับปรุงตนเอง
-การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่
-การสร้างแนวคิดในการปรับปรุงตนเอง
-การติดตาม การประเมินผล และการแก้ไข

การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงานอัตโนมัติโดยมีการแบ่งออกเป็นระดับของบุคคล
แบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
1.ผู้ใช้โดยตรง เขียนโปรแกรมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม
2. ผู้ใช้โดยอ้อม ใช้สารสนเทศที่สร้างจากสารสนเทศแต่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือทำงานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง
3. ผู้ใช้โดยไม่เขียนโปรแกรม แต่มีปฏิสัมพันธ์กับระบบด้วยการบันทึกข้อมูลเข้าสู้คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์จากระบบ
4. นักคอมพิวเตอร์อาชีพ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ออกแบบระบบ และเขียนโปรแกรม

ระบบความปลอดภัยของข้อมูลในสำนักงาน
1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลในสำนักงาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ
1.1 คน ในที่นี้มี 2 กลุ่ม คือ
-พนักงานของหน่วยงานที่ไม่เจตนาทำความเสียหายแก่ข้อมูล
-พนักงานของหน่วยงานที่เจตนาทำความเสียหายแก่ข้อมูล
1.2 ฮาร์ดแวร์
1.3 ซอฟต์แวร์
1.4 ไวรัสคอมพิวเตอร์
1.5 ภัยธรรมชาติ
2. รูปแบบของการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างความเสียหายแก่ข้อมูล ได้แก่
2.1 ดาต้าดิดดลิ่ง (data diddling) เป็นการปลอมแปลงเอกสารหรือปรับเปลี่ยนข้อมูลเพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว 2.2 ม้าโทรจัน (trojan horse) เป็นการทำอาชญากรรมโดยผู้ที่ได้รับความเสียหายไม่รู้ตัว เช่น การดักขโมยรหัสเพื่อผ่านเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์ นำไปใช้ประโยน์ในภายหลัง
2.3 การโจมตีแบบซาลามิ (salami attack) เป็นการนำเศษเงินที่เป็นทศนิยมมารวมเป็นก้อนโต
2.4 แทรปดอร์ (trapdoor) หรือ แบคดอร์ (backdoor) เป็นจุดที่เป็นความลับในโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อเข้าสู่โปรแกรมหรือโมดูลได้โดยตรง จึงเป็นช่องโหว่ในการทุจริตได้
2.5 การสงครามแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic warefare) เป็นการทำลายระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์หยุดทำงานหรือการลบข้อมูลในหน่วยความจำ
2.6 ลอจิกบอมบ์ (logic bomb) เป็นการเขียนโปรแกรมโดยกำหนดเงื่อนไขเจาะจงไว้ล่วงหน้า เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ โปรแกรมดังกล่าวจะทำงานทันทีไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยมีความสามารถในการแพร่กระจายจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์จะแทรกตัวไปกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลหรือซ่อนตัวอยู่ในหน่วยความจำทั้งในหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำสำรองก็ได้
ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
1. บู้ตเซกเตอร์ไวรัส (boot sector virus) คือ โปรแกรมไวรัสที่แทรกตัวในตำแหน่งหน่วยความจำที่เรียกว่า บู้ตเซกเตอร์ไวรัส ตัวอย่างบู้ตเซกเตอร์ไวรัส ได้แก่ AntiCMOS, AntiEXE, Ripper, NYB (New York Boot) เป็นต้น
2. เมโมรี เรสซิเดนต์ ไวรัส (memory resident virus) คือ โปรแกรมไวรัสที่แทรกตัวในตำแหน่งเมโมรี
3. แมคโคร ไวรัส (macro virus) แพร่ระบาดโดยเมื่อคำสั่งแมคโครใดที่มีโปรแกรมไวรัสแทรกตัวอยู่ถูกเรียกมาทำงาน โปรแกรมไวรัสนั้นจะถูกเรียกมาด้วย ตัวอย่างแมคโคร ไวรัส ได้แก่ Concept, Laroux เป็นต้น
4. ไฟล์ไวรัส (file virus) เป็นโปรแกรมไวรัสที่แทรกตัวเข้าไปในเอกซ์ซิคิวเทเบิลไฟล์ (executable file) เมื่อโปรแกรมเหล่านี้ถูกเรียกมาทำงานในคอมพิวเตอร์ก็จะแพร่ไปยังโปรแกรมอื่นๆ
5. มัลติพาร์ไทต์ไวรัส (multipartite virus) เป็นไวรัสที่ผสมคุณสมบัติของบู้ตเซกเตอร์ไวรัส ไฟล์ไวรัส เข้าด้วยกัน
6. โปรแกรมกลุ่มอื่นที่เป็นภัยคุกคามเช่นเดียวกับโปรแกรมไวรัส เช่น ลอจิกบอมบ์ ม้าโทรจัน แรบบิต (rabbit) วอร์ม (worm) และอื่นๆ การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์- ให้ใช้โปรแกรมจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น- ทดสอบซอฟต์แวร์ใหม่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เป็นเอกเทศ (stand alone) และไม่มีฮาร์ดดิสก์- ให้สำรองโปรแกรมที่ต้องใช้งาน และแฟ้มข้อมูล- ให้ใช้โปแกรมป้องกันไวรัส (anti virus) ตรวจจับไวรัสเป็นประจำ- ควรมีการสำรองโปรแกรมระบบในดิสเกตต์หรือซีดีรอมโดยเป็นแบบไม่ให้มีการเขียนซ้ำ (write protect)
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
1. การกำหนดการใช้ข้อมูล การกำหนดการใช้ข้อมูล (identification) เป็นการกำหนดสิทธิ์และการได้รับอนุญาตให้ใช้ข้อมูล ได้แก่
1.1 การใช้บัตร (card) กุญแจ (key) หรือบัตรผ่านทาง (badge) เพื่อผ่านทางเข้าไปใช้ระบบหรือข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์
1.2 การใช้รหัสเพื่อเข้าสู่ระบบ เป็นการกำหนดรหัสเพื่อให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
1.3 การใช้ลายเซ็นดิจิทัล (digital key) เป็นการรับรองเอกสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับในระบบลายเซ็นดิจิทัล
1.4 การตรวจสอบผู้มีสิทธิ์ก่อนเข้าสู่ระบบ เช่น การอ่านลายนิ้วมือ การอ่านรูปทรงมือ การตรวจม่านตาหรือเรตินา (retina)
2. การเข้ารหัส การเข้ารหัส (encryption) เป็นกระบวนการเข้ารหัส (encode) ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลโดยการแปลงเนื้อหาที่ปรากฏให้ไม่สามารถเข้าใจได้สำหรับผู้ลักลอบข้อมูลไป ทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ข้อมูลที่เข้ารหัสจะต้องผ่านกระบวนการถอดรหัส (decryption) เพื่อถอดรหัส (decode) ให้เหมือนข้อความต้นฉบับ
3. การควบคุมในด้านต่างๆ
3.1 การควบคุมการเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูล (access control) เป็นการกำหนดระดับของสิทธิ์ในการเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูล
3.2 การควบคุมการตรวจสอบ (audit control)
3.3 การควบคุมคน (people control)
3.4 การควบคุมระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ (physical facilities control)
4. การมีโปรแกรมเพื่อตรวจสอบและป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ (anti virus program) เป็นการติดตั้งโปรแกรมเพื่อตรวจสอบและป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ทันทีที่พบว่าดิสเกตต์ที่นำมาใช้มีไวรัสฝังตัวอยู่ หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากเครือข่ายมีไวรัสติดมาด้วย
5. การจัดทำแผนรองรับกรณีเหตุร้ายหรือแผนฉุกเฉิน (disaster & recovery plan) เป็นแผนฉุกเฉินในการกู้คืนข้อมูล และแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาในระหว่างทำงาน

สูตรเบาๆ..เผาผลาญน้ำหนักดีแท้

ค่อยๆลดอย่างใจเย็นไม่ลำเค็ญภายหลัง ขอเพียงคุณอย่าเพิ่งท้อแท้เพราะถ้าหากคุณรู้เทคนิคที่จะลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง รวมถึงมีความอดทนที่จะลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไป คุณจะไม่รู้สึกทุกข์ทรมาณกับการลดน้ำหนัก และสามารถจะลดส่วนสัดที่เกินตัวได้อย่างปลอดภัย หากจำเป็นต้องพึงยาลดน้ำหนักก็ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย

8 คำแนะนำดีๆ เพื่อการลดน้ำหนัก

จุดเริ่มต้นของการลดน้ำหนักต้องเริ่มต้นจากความตั้งใจจริงที่จะลดน้ำหนักให้ได้ แต่ต้องไม่ใจร้อนและไม่คาดหวังสูงเกินไป ยิ่งน้ำหนักตั้งต้นของคุณมากยิ่งต้องใช้เวลานาน การที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ นั่นหมายถึงร่างกายจะได้รับพลังงานเข้าไปมากกว่าที่ต้องการ 500 กิโลแคลอรีต่อวัน ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณสามารถลดการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานลงจากเดิมที่เคยรับประทานได้ 500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน น้ำหนักตัวของคุณก็จะลดลง 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

1. การลดน้ำหนักในระยะแรกๆ ส่วนใหญ่น้ำหนักจะลดลงได้รวดเร็ว เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำ แต่หลังจากนั้นน้ำหนักจะคงที่และเริ่มลดได้ช้าลง ซึ่งไม่ควรท้อใจ

2. ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะจะยิ่งทำให้หิวมากตลอดทั้งวัน

3. ทานมื้อเย็นก่อนนอน 4-6 ชั่วโมง

4. ระหว่างการลดน้ำหนักต้องไม่ทานจุบจิบ ไม่ดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5. ทานอาหารที่มีกากใยสูงมากๆ เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ

6. ปรุงอาหารด้วยวิธีการต้ม นึ่ง แทนที่จะผัดหรือทอด เพื่อลดไขมัน

7. หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน

8. ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินจ๊อกกิ้ง ถีบจักรยาน หรือว่ายน้ำ ครั้งละ 30 นาที หากไม่สามารถหาเวลาออกกำลังกายได้ทุกวัน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 ครั้งก็เพียงพอที่จะช่วยกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญสารอาหารในร่างกายทำงานดีขึ้น เท่านี้น้ำหนักก็จะลดลงอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องพึ่งยา
กำจัดส่วนเกิน แบบแคลอรี่ต่อแคลอรี่ ถ้าจะอธิบายให้เห็นถึงวิธีรับประทานอาหารเพื่อการลดน้ำหนักอย่างเป็นรูปธรรม อาจจำเป็นต้องอาศัยการคิดคำนวนปริมาณแคลอรี่ในแต่ละมื้อ แต่ละวันที่คุณได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ทั้งนี้ความต้องการแคลอรี่หรือพลังงานขั้นต่ำสุด ในการดำรงชีวิตปกติของคนเราจะอยู่ที่ 25 แคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน


ถ้าน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม วันหนึ่งควรจะได้รับพลังงานขั้นต่ำสุดจากอาหารอย่างน้อยๆ ก็ 50x25 = 1,250 แคลอรี่

ฉะนั้นหากวันนี้คุณยังรับประทานอาหารที่ให้พลังงานเกินกว่านี้อยู่ ก็ควรลดให้อยู่ภายในเกณฑ์นี้ให้ได้ ถ้าหากอยู่ภายในเกณฑ์นี้แล้ว แต่ยังรู้สึกว่าอ้วนอยู่ คุณอาจจะค่อยๆลดปริมาณอาหารลง เช่น จาก 1,250 แคลอรี่เป็น 1,100 เป็น 1,000 และเป็น 900 แคลอรี่ อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งต้นอยู่ที่ 50 กิโลกรัม ไม่ควรจะลดพลังงานที่ได้ให้ต่ำไปกว่านี้ เพราะการลดอาหารที่เข้มงวดเกินไป อาจทำให้ไม่มีความสุขกับการลดน้ำหนัก ซ้ำร้ายอาจเป็นโรคขาดสารอาหารได้